Social Link

twitterfacebookgoogle pluslinkedinrss feedemail

Tuesday, December 9, 2014

leskin เลอสกิน ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด Sunscreen


แนวทางเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด

รายงานการวิจัยระบุ คนขาวมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนัง มากกว่าคนผิวคล้ำ
...เพื่อให้ได้ผลในการปกป้องจากแสงแดดมากที่สุด แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดทุกๆ 2 ชั่วโมง
โดยเฉพาะเวลาที่มีเหงื่อออก หลังจากว่ายน้ำหรือเช็ดตัว ทั้งยังไม่แนะนำให้สัมผัสกับแสงแดดนานเกินไป...

มาทำความรู้จักแสงแดดกันเถอะ!
แสงแดด คืออะไร? แสงแดดและรังสียูวีเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
แสงแดดประกอบไปด้วยรังสีทั้งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Visible light) และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
สำหรับรังสีที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้น หากเรามองผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ปริซึม (Prism) เราจะพบว่ารังสีนั้นสามารถแยกออกได้ถึง 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ส่วนรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแบ่งเป็นรังสีเหนือม่วง หรือ อัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet) เรียกสั้นๆว่า รังสียูวี (UV) และรังสีใต้แดง หรืออินฟราเรด (Infra-red) ซึ่งทั้งรังสียูวีและรังสีใต้แดงมีความยาวคลื่นที่ต่างกัน แต่ดวงตาของมนุษย์ มีขีดจำกัดไม่สามารถมองเห็นแสงทั้งสองชนิดนี้ได้

รังสียูวีคืออะไร?
ในแสงแดดมีรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่เรียกว่า รังสียูวีโดยรังสียูวีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามช่วงความยาวคลื่น (Wavelength) ดังนี้
1) ยูวีเอ (UV A, Ultraviolet A) เป็นรังสียูวีที่มีความยาวคลื่นยาวที่สุดคืออยู่ระหว่าง 320 – 400 นาโนเมตร (nm) และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด ผิวแก่ก่อนวัย จุดด่างดำและฝ้า นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ยูวีเอสามารถทำให้ ผิวมีความไวต่อยูวีบีเพิ่มมากขึ้นด้วย
2) ยูวีบี (UV B, Ultraviolet B) เป็นรังสียูวีที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 290 – 320 นาโนเมตร (nm) หากผิวสัมผัสถูกรังสียูวีบี จะทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (Deoxy-Ribonucleic Acid; DNA) ซึ่งเป็น สาเหตุของมะเร็งผิวหนัง
3) ยูวีซี (UV C, Ultraviolet C) เป็นรังสียูวีที่มีความยาวคลื่นสั้นที่สุด คือ อยู่ระหว่าง 210 – 290 นาโนเมตร (nm) โดยธรรมชาติรังสีในช่วง
ความยาวคลื่นนี้จะถูกดูดซับด้วยโอโซนในชั้นบรรยากาศไม่สามารถผ่านเข้ามายังโลกได้

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กันแดดมีอะไรบ้างนะ! ผลิตภัณฑ์กันแดดมีวัตถุประสงค์อะไร? และมีกลุ่มใดบ้าง?

ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่วางขายอยู่ในท้องตลาดมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบี ช่วยลดปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตที่จะมาถึงผิว โดยอาศัยคุณสมบัติของสารป้องกันแสงแดดที่มีอยู่ 2 ชนิด คือ

1) กลุ่มสารที่เป็นสารสะท้อนแสง โดยสารกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิว ไม่ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาค และชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น ซิงก์ออกไซด์ (Zinc oxide) ไตตาเนียมไดออกไซด์(Titanium dioxide) แมกนีเซียมคาร์บอเนต (Magnesium carbonate) และ แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium oxide) เป็นต้น
2) กลุ่มสารที่เป็นสารดูดซับแสง สารเหล่านี้ดูดซับแสงแดด ทำให้แสงแดด ไม่สามารถผ่านเข้ามาทำอันตรายต่อผิวหนังได้ เช่น แอนทรานิเลต (Anthranilate) เบนโซฟีโนน (Benzophenone) และซินนาเมต (Cinnamate) เป็นต้น

SPF คืออะไร?
SPF (Sun Protection Factor) ของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการไหม้แดงของ ผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีบี จากการทดลองของ Northwestern
School of Law and Department of Physics, Lewis & Clark College ประเทศโปแลนด์ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 50 มีร้อยละการดูดซับรังสียูวีบี แตกต่างจากค่า SPF 30 เพียงร้อยละ 1.3 ดังนั้น การระบุค่า SPF สูงดังกล่าว
อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์นั้นสามารถป้องกันแสงแดดได้เพิ่มและ ยาวนานขึ้นมากกว่ามาก

PA คืออะไร?
PA หรือ Protection grade of UVA หมายถึง ค่าที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Cosmetic Industry Association, JCIA, 1996) ได้กำหนดขึ้น แสดงถึงความสามารถของ ผลิตภัณฑ์ในการป้องกันอาการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวี เอ โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) แสดงระดับของประสิทธิภาพ

ระดับ
ค่า PA
พอใช้
PA+
สูง
PA++
สูงมาก
PA+++



ความสามารถในการกันน้ำคืออะไร?
ความสามารถในการกันน้ำ หรือ Water resistance เป็นข้อความที่แสดงให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดประเภทนี้ยังคงสภาพ SPFตามที่กำหนดเมื่อทาผลิตภัณฑ์แล้วมีการแช่น้ำ ซึ่งความสามารถในการกันน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1) ความสามารถในการกันน้ำ (Water resistance) เป็นระดับการกันน้ำ ของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ที่ผ่านการทดสอบตามวิธีมาตรฐาน โดยวิธี ทดสอบกำหนดให้ต้องแช่น้ำรวมทั้งสิ้น 40 นาที
2) ความสามารถในการกันน้ำสูง (Very Water resistance) เป็นระดับการกันน้ำของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ที่ผ่านการทดสอบตามวิธีมาตรฐาน โดยวิธีทดสอบกำหนดให้ต้องแช่น้ำรวมทั้งสิ้น 80 นาที ข้อมูลเพิ่มเติมจากภาครัฐในการดูแลผลิตภัณฑ์ในอนาคต
1) กระทรวงสาธารณสุขจะไม่อนุญาตให้ระบุข้อความ “waterproof” หรือ “sweatproof” หรือ “sunblocks” บนฉลากของผลิตภัณฑ์ป้องกัน แสงแดด เนื่องจากอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ป้องกันแสงแดด
2) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดในประเทศไทยมีหลากหลายรูป แบบ ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่สามารถใช้สำหรับป้องกันแสงแดดได้ นอกจากจะต้องมีสารป้องกันแสงแดดแล้ว จะต้องมีลักษณะรูปแบบที่ใช้แล้วไม่ ล้างออก (Leave on products) เท่านั้น
3) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางประเภทมีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด เนื่องจาก
(1) ปริมาณของสารป้องกันแสงแดดไม่เพียงพอ หรือป้องกันการเสียสภาพของเครื่องสำอางเท่านั้น
(2) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วล้างออก (Rinse off products) เช่นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย (Body washes) ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเส้นผม (Shampoos/rinse off) เป็นต้น
4) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ประเภทผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ควรจะต้องมีค่า SPF อยู่ระหว่าง 650 ค่า SPF มากกว่า 50 จะต้องแสดงเอสพีเอฟ 50+หรือ “SPF 50+โดยมีระดับการแสดงค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีบี ดังนี้
ดังนั้น ก่อนเลือกใช้เครื่องสำอางป้องกันแสงแดด ต้องทำความเข้าใจข้อความต่างๆ บนฉลากก่อน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น อีกทั้งยังปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดด
1.     ปัจจัยอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผิวเสื่อมก่อนวัย ?
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังให้ความเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของการได้รับรังสียูวีบีที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นในขณะที่การได้รับรังสียูวีเอนำไปสู่การทำลายผิวที่เรื้อรัง อันเป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้ผิวเกิดเสื่อมก่อนวัย โดยธรรมชาติ ผิวชั้นนอกจะมีการสร้างใหม่ในทุกๆ 4 สัปดาห์ และสามารถซ่อมแซมตัวเองจากชั้นนอกสุด ทำให้มองไม่เห็นริ้วรอยของการทำลายผิวที่เกิดจากแสงแดดในช่วงแรก หากแต่จะถูกฝังลึกอยู่ในผิวอย่างถาวร นอกจากนี้ การได้รับรังสียูวีที่มากเกินไปในตลอดช่วงชีวิต นอกจากจะทำให้เกิดความเสื่อมของผิวแล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ชนิดของผิวและวิถีการดำเนินชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ผิวเสื่อมก่อนวัยอันควร เช่น เกิดเป็นฝ้ากระ เป็นต้น
2. วิธีใดที่ดีที่สุดในการบรรเทาอาการผิวไหม้จากแสงแดด(Sunburn)?
การประคบเย็นบริเวณที่เกิดผิวไหม้แดงจะช่วยระบายความร้อนออกจากผิวหนังบริเวณนั้นได้ ในกรณีที่ผิวไหม้
ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปมากกว่าปกติดังนั้น จึงควรดื่มน้ำมากๆ และหากมีอาการผิวไหม้รุนแรง ผิวที่ไหม้แดงจะ
กระจายตัวหรือขยายตัวหรือเกิดอาการบวม รวมไปถึงมีไข้และหนาวสั่น ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที แต่หากคราวหน้า
ต้องออกแดดอีก ก็อย่าลืมทาผลิตภัณฑ์กันแดดก่อนออกแดด โอกาสที่จะเกิดผิวแดงหรือไหม้จากแสงแดดก็จะน้อยลง

3. หากใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดแล้วจะยังเกิดการแพ้แสงแดดได้อีกหรือไม่?
อาการแพ้ที่เกิดขึ้นอาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่ ปริมาณและความเข้มของรังสียูวีที่ได้รับ ซึ่งรังสียูวีบริเวณชายหาดและแถบมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีความเข้มมาก หรือแม้แต่น้ำและทราย ก็สามารถสะท้อนรังสีได้เช่นกัน ดังนั้น การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าจะสามารถป้องกันการแพ้เนื่องจากแสงแดดได้
4. จำเป็นต้องทาผลิตภัณฑ์กันแดดซ้ำหรือไม่
หลังว่ายน้ำแม้ผลิตภัณฑ์นั้นจะระบุว่ากันน้ำได้?การทดสอบการกันน้ำ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการกันการหลุดลอกของผลิตภัณฑ์ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ 80% ของผลิตภัณฑ์กันแดดหลุดลอกออกไปนั้นได้แก่ การเผชิญกับทราย ลม หรือผ้าเช็ดตัว ดังนั้นแม้ว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการกันน้ำ แต่หลังจากว่ายน้ำเสร็จคุณควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดซ้ำอีกครั้ง

5. ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดใดที่ไม่มีส่วนผสมที่เป็นสารเคมี
ณ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดล้วนมีส่วนผสมของสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดดทั้งสิ้น เพียงแต่กลไกในการป้องกันแสงแดดและคุณสมบัติในการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังของสารแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน ดังนี้
1) กลุ่มสารที่เป็นสารสะท้อนแสง โดยสารกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวไม่ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาคและชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น ซิงก์ออกไซด์ (Zinc oxide) ไตตาเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide) แมกนีเซียมคาร์บอเนต (Magnesiumcarbonate) และ แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium oxide) เป็นต้น
2) กลุ่มสารที่เป็นสารดูดซับแสง สารเหล่านี้ดูดซับแสงแดด ทำให้แสงแดดไม่สามารถผ่านเข้ามาทำอันตรายต่อผิวหนังได้ เช่น แอนทรานิเลต(Anthranilate) เบนโซฟีโนน (Benzophenone) และซินนาเมต (Cinnamate)เป็นต้น10 แนวทางเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด
6. วิธีใดที่ดีที่สุดในการปกป้องเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบจากแสงแดด ?
โดยทั่วไป ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้รับแสงแดดโดยตรงเนื่องจากแสงแดดที่แรงกล้าจะเป็นอันตรายต่อผิวและร่างกายของเด็ก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล็กต้องสัมผัสกับแสงแดด ซึ่งวิธีการที่สามารถช่วยลดปริมาณที่จะสัมผัสกับผิวเด็กได้บ้าง เช่น
1) สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
2) หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงกลางวัน
3) สวมใส่เสื้อผ้าที่เบา แต่มีขนหนา
4) ใส่หมวกที่มีปีกกว้าง เป็นต้นหรือหากเด็กมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป อาจลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไททาเนียมไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยเคลือบอยู่ชั้นผิวภายนอกและไม่ทำให้เกอดอาการแพ้ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเด็กควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่กันน้ำได้สูง
7. ทำไมผิวจึงมีโอกาสไหม้แดดได้ แม้จะทาผลิตภัณฑ์กันแดดแล้ว ?
โดยทฤษฎี เราควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดอย่างน้อย 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตรหรือประมาณ 35 มิลลิกรัมต่อการทาหนึ่งครั้ง ซึ่งเป็นปริมาณที่นักวิชาการแนะนำ แต่ปริมาณดังกล่าวถือว่าค่อนข้างมาก ซึ่งอาจทำให้ผิวดูมันหรือหนาเกินไป จึงไม่ค่อยมีการทาผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่นักวิชาการแนะนำ ดังนั้น อีกวิธีการหนึ่งที่อาจช่วยให้ผิวไม่ไหม้แดดคือ การทาผลิตภัณฑ์กันแดดไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ทา หากยังขึ้นอยู่กับประเภทของผิวของ
แต่ละคนที่จะมีความสามารถในการทนทานต่อแสงแดดได้แตกต่างกัน
8. ทาผลิตภัณฑ์กันแดดเพียงครั้งเดียวได้หรือไม่ ?
เพื่อให้ได้ผลในการปกป้องจากแสงแดดมากที่สุด แนะนำให้ทา
ผลิตภัณฑ์กันแดดทุกๆ 2 ชั่วโมงโดยเฉพาะเวลาที่มีเหงื่อออกหลังจากว่ายน้ำหรือเช็ดตัว แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้สัมผัสกับแสงแดดนานเกินไป
 9. ค่า SPF เท่าไรที่เหมาะสม ? การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับความเข้มของรังสียูวีในแต่ละสถานที่ ความไวต่อแสงแดดของผิวแต่ละคน หากไปท่องเที่ยวแถบริมชายหาดหรือที่ที่มีแสงแดดจัด ก็ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี SPF สูงเหมาะกับผิวหนัง เช่น SPF มากกว่า 30
10. ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับทาหน้าและทาตัวต่างกันอย่างไร?ใช้แทนกันได้หรือไม่?
โดยปกติแล้ว สารป้องกันแสงแดดที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับทาหน้าและทาตัวไม่มีความแตกต่างกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละผลิตภัณฑ์ เช่น ปริมาณน้ำหอม สารให้ความชุ่มชื้น ปริมาณของสารป้องกันแสงแดดที่ใส่ลงไป ทำให้มีค่าการป้องกันแสงแดด ความหนืดของผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกันออกไปเมื่อมีคำถามว่าสามารถนำผลิตภัณฑ์ทาหน้าหรือทาตัวมาใช้แทนกันได้หรือไม่ ในส่วนของคุณสมบัติสารแล้วสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากมีความสามารถในการป้องกันแสงแดดได้เหมือนกัน (ตามที่แจ้งค่าความสามารถในการป้องกันยูวีไว้) แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใช้คือ โอกาสการแพ้ของผลิตภัณฑ์กับบริเวณที่ใช้ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง แนะนำให้ทำการทดสอบอาการแพ้อย่างง่ายก่อนการใช้ทุกครั้ง โดย
1. ทาเครื่องสำอางบริเวณท้องแขน หรือผิวบริเวณหลังติ่งหู ทิ้งไว้ประมาณ 24 - 48 ชม. หรือ
2. อาจทาบริเวณข้อพับแขน วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่อง 7 วันโดยหากไม่พบสิ่งผิดปกติก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้


ขอบคุณที่มา
e-cosmetic.fda.moph.go.th



No comments:

Post a Comment